วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เอ่ยถึงพระปิดตาเนื้อผงของหลวงพ่อ แก้ว วัดในปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี องค์เดียวกับหลวงพ่อแก้ว ซึ่งต่อมาธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดเครือวัลย์ อ.เมือง จ.ชลบุรี ผู้นิยมชมชอบพระปิดตาเนื้อผง และนักสะสมพระเครื่องทั่วประเทศ แทบไม่มีใครไม่รู้จัก

นอกจากพระเครื่องท่านถือเป็นสุดยอดพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองไทย ที่มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหาเสน่ห์ พระของท่านยังมีสนนราคาสุดโต่งเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเอื้อมถึง

ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีพระปิดตาเนื้อผงของหลวงพ่อแก้วไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ที่ท่านสร้างไว้เมื่อสมัยยังจำพรรษาอยู่วัดในปากทะเล หรือสมัยย้ายไปอยู่ที่วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรีก็ตาม ล้วนเป็นที่หวงแหนยิ่ง

เมื่อใดที่มีข่าวพระปิดตาหลวงพ่อแก้วย้ายกุฏิหรือเปลี่ยนเจ้าของผู้ครอบครองคนใหม่ จึงมักเป็นข่าวครึกโครมให้จับจ้องกันทั้งวงการพระ

ดังกรณีล่าสุด ชวภณ เริ่มวานิชย์ หรือเจ้าของฉายา “อี๊ด เมืองโบราณ” เซียนพระชื่อดัง รุ่นกลาง หมัดหนัก เงินหน้าตักสู้ไม่อั้น ถ้าเจอพระหลัก พระสวย พระแท้ ลือกันว่า เสี่ยอี๊ดคนนี้ถอยไม่เป็น

เพิ่งมีข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าเขาไปบุกหนัก (ทุ่มเงินไม่อั้น) นิมนต์ย้ายพระปิดตาผงคลุกรักหลวงพ่อแก้ว พิมพ์เล็กหลังเรียบ วัดเครือวัลย์ จากเจ้าของเดิม รังใหญ่แห่งหนึ่งได้สำเร็จไปในราคาองค์ละ 10 กว่าล้านบาท

เป็นเรื่องจริงที่ไม่อิงนิยาย พระปิดตาเนื้อผงของหลวงพ่อแก้วว่าหายาก แต่ยังมีอีกสิ่งเกี่ยวข้องกับท่านที่หาชมได้ยากยิ่งกว่าเป็นร้อยเท่า นั่นก็คือ รูปภาพของหลวงพ่อแก้ว


ประวัติโดยย่อ พระครูสมุห์สมจิต (พระอาจารย์จิ สมจิตโต) วัดหนองว้า ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2507 ที่บ้านในดอน ต.หนองขนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2527 ศึกษาเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง เพชร บุรี และศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประ จวบฯ ปัจจุบันเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองว้าและเป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบลหาดเจ้าสำราญ 
หลังจากปี พ.ศ. 2529 ที่ ท่าน พระอาจารย์จิ ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมวิชาไสย์เวทย์ต่างๆ จากหลวงพ่อยิดจนหมดไส้หมดพุงแล้ว หลวงพ่อยิดท่านได้เอ่ยปากชวนอยู่จำพรรษาที่วัดหนองจอกเลย และจะให้กรรมการปลูกกุฏิให้อยู่จำพรรษาต่างหากเลยแต่พระอาจารย์จิ ท่านก็ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของหลวงพ่อยิดได้ ท่านจึงได้ลาหลวงพ่อยิดกลับมาอยู่จำพรรษาต่อที่วัดหนองหว้าและนำวิชาต่างๆ ที่หลวงพ่อยิดถ่ายทอดมาให้หมั่นฝึกฝนอยู่เป็นเนืองนิตย์ไม่เคยขาด ไม่เคยละในวัตรปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ปฏิบัติหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา จนจิตเป็นสมาธินิ่งสงบและที่มาที่ไปของคำที่ว่า หลวงพ่อยิดท่าสนเอ่ยปากพูดขึ้นว่า "ท่านจิ ท่าสนเก่งจริงๆ ทำอำไร ปลุกเสกอะไรได้เหมือนหลวงพ่อทุกอย่าง" ท่ามกลางลูกศิษย์ลูกหาหลายท่าน มีทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส เนื่องด้วยประมาณปี พ.ศ. 2535 ต้นๆ ปี ในขณะนั้นผู้เขียนเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ได้มีพระรูปหนึ่งชื่อ หลวงตาเพลิน เคยบวชอยู่ที่วัดบางทะลุ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระผู้ที่มาริเริ่มบูรณะวัดเก่าแก่ ซึ่งเหลือโบสถ์เก่าเป็นหลักฐานอยู่ที่ดอนบ้านใหม่ ในพื้นที่เขตตำบลหาดเจ้าสำราญ รกร้างมานานจนเป็นเรื่องกล่าวขานกันว่า....
วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย พระสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแตงโม เป็นผู้สร้าง ซึ่ง หลวงตาเพลิน เป็นลูกเกิดที่นั่น มีจิตเป็นกุศลอยากจะบูรณะวัดร้างให้เป็นวัดสมบูรณ์จึงพาญาติโยมเดินทางมาหาหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เพื่อขอวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดไปแจกเป็นมงคลให้กับผู้ที่มาบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดดอนบ้านใหม่พอเอ่ยปากบอกกับ หลวงพ่อยิด ท่านจึงเอ่ยปากพูดขึ้นว่า หลวงตาเพลินจะเอาปลัดขิก ไม่ต้องมาถึงฉันนี่หรอก ไปหาท่านจิ วัดหนองหว้าซิเป็นลูกศิษย์ฉันเอง "ท่านจิท่านเก่งจริงๆ ทำอะไรปลุกเสกอะไรได้เหมือนฉันทุกอย่างเลย" ของที่ท่านจิปลุกเหมือนกับฉันปลุกเสกเลยทุกอย่างไม่ต้องมาถึงกุยบุรีหรอก อยู่เพชรบุรีใกล้กันนิดเดียว จากคำพูดนี้เอง หลวงตาเพลิน จึงได้ให้ชาวบ้านแกะปลัดขิก และนำไปให้ พระอาจารย์จิ ลงจารยันต์ปลุกเสกมาตลอดทุกปี แล้วนำปลักขิกนี้มาแจกให้กับผู้ที่มีความศรัทธา ร่วมสร้างวัดจนเป็นวัดดอนบ้านใหม่อย่างสมบูรณ์แบบทุกวันนี้ก็ด้วยบารมีพระอาจารย์จิ ปลุกเสกปลัดขิกให้จริงๆ มีผู้คนมากมายที่นำวัตถุมงคลของท่านไปใช้ได้ผลจริงๆ มีประสบการณ์มากมาย ปลัดขิกของท่านพุทธคุณครบเครื่องเหมือนกับของหลวงพ่อยิด ผู้เป็นอาจารย์จริงๆ ดีเด่นทางด้านมหาเมตตา ค้าขายดี พกติดตัวแคล้วคลาด แลอดภัย เป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างเป็นทางการให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชากัน ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก ศิษย์หลวงพ่อยิด จำนวนมากได้มาบูชาเก็บวัตถุมงคลของท่านกัน เพราะรู้ว่าวันข้างหน้าดังแน่นอน จึงได้รีบเก็บบูชาไว้ก่อนต่อไปหายากเดี๋ยวจะบูชาแพงเหมือนของหลวงพ่อยิดที่ตอนนี้หายากแล้ว
ท่านเป็นพระอาจารย์หนุ่ม อายุ 40 กว่าๆ ปี สงบ นิ่ง สุขุม ไม่พูดมาก สำรวมในกริยาแบบพระสุปฎิปันโน ลายจารอักขระสวยงาม เข็มขลัง ไม่แพ้อาจารย์ของท่าน ***ท่านออกวัตถุมงคลมานานแล้ว แต่ด้วยท่านเป็นพระหนุ่ม คนจึงมองข้ามท่านไป ไปเพชรบุรี ก็เข้าวัดตาลกง ไปไม่ถึง วัดหนองหว้า สักที หรือไม่ ก็เลยไปวัดชายนา เลยที่เดียว ด้วยความที่เป็นพระพูดน้อย เลยทำให้บางคนมองไปต่างๆนาๆ ซึ่งความจริงแล้วท่านมีเมตตามาก ขอแค่เอ่ยปากเท่านั้นท่านไม่เคยขัด อันนี้ผมสัมพัสกับตัวเองมาแล้วคับ***
กล่าวถึงวิชาที่มาจากสายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวงแล้ว ลูกศิษย์ที่ยังทรงขารก็น่าจะหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อห่วย วัดห้วยทรายใต้ ก็ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงพ่อแผ้วด้วย หลวงปู่คำ วัดหนองแก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงปู่เปี่ยม วัดเกาะหลัก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข ส่วนหลานศิษย์ ก็น่าจะพระอาจารย์จิ วัดหนองหว้า เพชรบุรี ศิษย์เอกหลวงพ่อยิด จึงนับได้ว่าเป็นพระรุ่นสุดท้ายที่อายุน้อยที่สุดที่สืบทอดวิชาทางสาย พ่อทองสุขมาแบบเต็มๆ ดูได้จากวัตถุมงคลหลายๆอย่างคับ นอกจากนี้ท่านยังได้วิชาทางสาย หลวงพ่อกุน วัดพระนอน เจ้าของสุดยอดตะกรุด ที่ทุกคนใฝ่หา อันนี้ดูได้จากเหรียญเทวดามีสุขคับ 
นอกจากปลุกเสกวัตถุมงคลได้อย่างเข้มขลังแล้ว พระอาจารย์จิยังเป็นพระสมถะไม่เคยสะสมสิ่งใด แม้ปัจจุบันท่านเป็นรองเจ้าอาวาส “ขนาดมีคนนำปัจจัยไปถวายท่าน ท่านไม่เคยเก็บสะสม ท่านถวายต่อเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งก็ได้นำปัจจัยที่ได้รับการถวายมาสร้างวัดหมดเหมือนกัน กุฏิท่านไม่มีแบ่งแยก รวมกับพระลูกวัดไม่มีแอร์ ไม่มีที่นอน เคยซื้อพัดลมตัวใหญ่ๆ ให้ท่าน ที่นอน ท่านให้เด็กนักเรียนวัดหนองหว้า และพระลูกวัดหมด อยู่อย่างสมถะจริงๆคับ ”

พระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เป็นศิษย์หลวงพ่อยิดวัดหนองจอก... เคยได้ยินหลวงพ่อยิดจากประวัติหลวงปู่กาหลง ท่านก็เป็นศิษย์พี่ ศิษย์น้องกับหลวงพ่อยิด วัดหนอกจอกเช่นกัน...ในตำนานว่าเห็นท่านสนิทกันมาก.. หลวงปู่กาหลงเรียกไอ้ยิด ประมาณนั้น.. ท่านสอนกันเรื่องวิชาปลัดขลิก...ส่วนอาจารย์เม้งก็เช่นกัน...ท่านนับถือหลวงพ่อยิดมาก
ส่วนวัตถุมงคล ที่พระอาจารย์จิ สมจิตโตที่ได้เริ่มสร้างมา ที่มีประสบการณ์มาก ได้แก่ หนุมานเกราะเพชร ปี47 ซึ่งถ้าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างหายากเช่น หน้าทองคำ หรือเนื้อตะกรุดโทน เหรียญนี้สร้างโดยพระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เหรียญของท่านโดยส่วนใหญ่ท่านจะจารกำกับด้วยเหล็กจารเกือบจะทุกองค์ครับ สร้างเมื่อปี 2547 มีประสบการณ์สูงมากครับ เป็นพระทางสายเพชรบุรีรุ่นใหม่ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
เหรียญหนุมานของท่าน รูปหนุมานแบบนี้
หลวงพ่อยิดท่านเคยวาดเอาไว้เป็นกระดาษยันต์ โดยที่ท่านไม่ต้องร่างก่อนด้วยครับท่านเก่งทั้งพุทธศิลป์และเปี่ยมด้วยพุทธคุณจริงๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง 

ปิดตานะพุทโธ ปี48 นี้ก็ไม่แพ้หนุมานเกราะเพชรเช่นกันคับ ด้วยมวลสารที่ เปี่ยมด้วยพุทธคุณ เช่นเหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน หลวงพ่ออุ้น หลวงพ่อยิด และเกจิอาจารย์อีกหลายองค์ ที่ได้นำมาหลอมเป็นพระปิดตาชุดนี้ อีกทั้งจำนวนการสร้าง โดยเฉพาะเนื้อเงินมีไม่ถึง ต90 องค์

เหรียญไตรมาสรุ่นแรก ปี49 ซึ่งเนื้อหลักๆ ราคาไม่ต้องพูดถึง และที่โดดเด่นอีกอย่างคือ ตะกรุดรุ่นแรกๆ เช่น ตะกรุดสิงห์เหนือ-เสือใต้ ตะกรุด 357 ตะกรุดโทนคู่กาย ซึ่งจะทำจากทองแดงเป็นส่วนใหญ่ จนถึงตะกรุดรุ่นหลังประสบการณ์มากมาย ยิ่งเฉพาะทางภาคใต้ของไทยเราคับ สุดยอดแค่ไหนต้องถามทหารที่มากราบท่านที่วัดนก ไป 9 กลับมา 3 โดนระเบิดน่ะคับไม่ใช่ลูกปืนแค่สลบ ล่าสุด ต้องนำลูกปืนมาให้ท่านจารให้เพื่อฝากเพื่อนพ้องทหารด้วยกัน ความจริงท่านมีชื่อเสียงพอสมควรทางใต้ไปจนถึงมาเลเซีย โดยเฉพาะปลัดขิกของท่านพุทธคุณครบเครื่องเหมือนกับของหลวงพ่อยิด ผู้เป็นอาจารย์จริง ๆ ดีเด่นทางด้านมหาเมตตา ค้าขายดี พกติดตัวแคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างเป็นทางการให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชากันหลายอย่าง ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก
ด้วยวัตถุมงคลแต่ล่ะรุ่นที่สร้างขึ้นมานั้นมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก เพราะจะเน้นไปทางพุทธคุณ โลหะส่วนใหญ่จึงได้จากการหลอมวัตถุมงคลซึ่งจะไม่มี โลหะของโรงงานผสม เลยทำให้มีจำนวนน้อย และราคาค่อนข้างสูง ( อันนี้อยู่ที่ความพอใจของคนซื้อและคนขายน่ะคับ )
หากท่านใดมีโอกาสไปเพชรบุรีแล้ว นอกจาก หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้งแล้ว อย่าลืมแวะไปกราบท่านซักครั้งลองดูน่ะคับ วัดห่างจาดวัดตาลกงไม่กี่กิโล อย่างน้อยผมกล้ายืยยันว่า ท่านเป็นพระที่กราบได้สนิทใจองค์หนึ่งเลยทีเดียว

หนุมาน พระครูสุชาตเมธาจารย์ หลวงพ่อกุน วัดพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอน อ.เมือง จ.เพชรบุรี

อีเมลพิมพ์PDF
ภาพและเรื่องโดย สรพล โศภิตกุล
พระครูสุชาตเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอนพระเกจิอาจารย์ที่สร้างรูป หนุมาน ไว้เป็น เครื่องรางของขลัง คือ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ความจริงแล้ว หลวงพ่อกุน เมื่อท่านสร้างตะกรุดอันเลื่องชื่อคือ? ตะกรุดจันทร์เพ็ญ โดยแผ่นตะกรุดของ หลวงพ่อกุน ท่านจะลงอักขระและรูปลายเส้น เป็นรูป หนุมาน จับทศกัณฐ์และนางมณโฑมัดผมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นภาพเรื่องราวของ รามเกียรติ์ ตอนที่ หนุมาน ไปเอาลูกหินบดยาที่ทศกัณฐ์ใช้หนุนต่างหมอน เพื่อนำมาบดยารักษาพระลักษมณ์ที่ถูกหอกกบิลพัทธ์ของทศกัณฐ์ หอกกบิลพัทธ์นี้ เป็นหอกที่พระอิศวรประทานแก่ท้าวลัสเตียน พ่อของทศกัณฐ์ และตกทอดมาถึงทศกัณฐ์
กล่าวสำหรับ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน ตามอัตโนประวัติกล่าวว่า เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านหนองกาทอง ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี บิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนมารดาชื่อ ม่วง เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๕ คน ประกอบด้วยพี่ชาย ๒ คน คือ นายพ่วง และนายเตอะ ส่วนน้องชายอีก ๒ คน คือนายเกตุ และนายเขียด ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดวังบัว และอุปสมบทที่วัดแห่งเดียวกันนี้ ในระหว่างที่อุปสมบทได้ใหม่ๆ ท่านได้เดินทางไปศึกษาวิชาจาก อาจารย์แจ้ง ฆราวาสที่มีความรู้ในสูตรสนธิ์ดีผู้หนึ่ง จากนั้นยังได้ศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อมุ่ย วัดใหญ่สุวรรณาราม และ หลวงพ่อฤกษ์ วัดพลับพลาไชย และได้ย้ายมาพำนักที่ วัดพระนอน เมื่ออุปสมบทได้ ๓ พรรษา มี พระครูสุวรรณมุนี (เกษ) เป็นเจ้าอาวาส วัดพระนอน ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระนอน สืบต่อ ทั้งยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ตามที่ปรากฏอยู่บนรูปถ่ายที่ท่านเขียนสมณศักดิ์ไว้ว่าพระครูสุเมธาจารย์ แต่มีผู้เขียนประวัติท่านเขียนนามสมณศักดิ์ท่านว่า พระครูสุชาตเมธาจารย์ หลวงพ่อกุน มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ อายุได้ ๖๐ ปี พรรษาที่ ๔๐
หนุมาน พระครูสุชาตเมธาจารย์ (กุน) หนุมาน พระครูสุชาตเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอน จ.เพชรบุรี

หนุมาน ที่ หลวงพ่อกุน สร้างขึ้นมานั้น มีทั้งที่เป็น เหรียญหล่อสี่เหลี่ยม เหรียญปั๊มกลม และ แบบฉลุตามรูปหนุมาน ที่ หลวงพ่อกุน สร้าง หนุมาน ขึ้นนั้น อาจเป็นเพราะท่านเกิดในปีวอก อันมีนักษัตรเป็นรูป ลิง

เหรียญหลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี รุ่น3 ไม่มีดอกจันทร์ (นิยม) เนื้อทองแดงผิวไฟ ประสบการณ์สูง แชมป์ตัวจริง เหรียญรุ่นแรกหลักหมื่นแล้วค่ะ

  
     
  
เหรียญหลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี รุ่น3 ไม่มีดอกจันทร์ (นิยม) เนื้อทองแดงผิวไฟ ประสบการณ์สูง เหรียญรุ่นแรกหลักหมื่นแล้วค่ะ

หลวงพ่อ อบ อินทวิริโย เป็นชาวบ้านหนองช้างปลัก ตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เกิดปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๕๒
บุตรนาย ผึ่ง กลีบจงกล นาง เพี้ยน กลีบจงกล มีพี่น้องร่วมกัน ๖ คน หลวงพ่ออบเป็นคนหัวปี หลวงพ่ออบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดถ้ำแก้ว มีพระอุปฌาย์ คือ
หลวงพ่อทิม วัดโคก หลวงพ่อเช้า วัดเวียงคอย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่ออยู่ วัดถ้ำแก้วเป็นพระนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่ออบก็จำพรรษาอยู่วัดถ้ำแก้ว
ศึกษาวิปัสสนาธุระ และพุทธคมกับหลวงพ่ออยู่ ด้วยความพากเพียรเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา จากนั้นจึงเดินออกธุดงค์อยู่ทุกปี ร่ำเรียนวิชากับพระอาจารย์ต่าง ๆ คือ อาจารย์วัด
ลาดบัวขาว จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่นาค วัดหัวหิน อาจารย์อยู่ อาจารย์หยอย เจ้าอาวาสวัดถ้ำแก้ว และปู่แสง(โยมพระอาจารย์หยอด)ซึ่งเป็นฆราวาสถือศีลกินเพล ซึ่งเรือง
วิทยาคมและมีชื่อเสียงดังมากในจังหวีดเพชรบุรีสมัยนั้น

หลวงพ่ออบ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมเก่งกล้าด้านคงกระพันชาตรี จากประวัติคำบอกเล่ามีว่า ครั้งหนึ่งมีคนบ้าถือมีดพร้าเข้ามาฟันท่านในวัด เสียงดัง บึกๆ แต่ ไม่ระคายผิวท่านเลยแม้แต่น้อย ซึ่งสอดคล้องกับที่หลวงพ่อแดงเคยบอกผู้ที่ไปกราบท่านว่า"ถ้าจะเอาเหนียว ต้องไปหาท่านอบ วัดถ้ำแก้ว" หลวงพ่ออบ ท่านเป็นพระเถระที่ ประพฤติปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก ท่านมรณภาพด้วยการที่ซุงบนรถบรรทุก หล่นลงมาทับร่างของท่านจนถึง
แก่มรณะภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากโซ่ที่ใช้รัดซุงดังกล่าวขาด แต่ที่น่าแปลกคือ ก่อนเกิดเหตุนั้น ท่านได้บอกกับคนอื่นที่ต้องไปช่วยงานท่านในการตีตราซุงเหล่านั้นให้หลบออกไป จากบริเวณดังกล่าวให้หมด เหมือนกับว่าท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า

หลวงพ่อ แดง วัดเขาบันไดอิฐ พระเกจิอาจารย์ผู้ลือนามแห่ง จ.เพชรบุรี ท่านได้กล่าวไว้ว่า "หากฉันตายให้ไปหาหลวงพ่อ อบ วัดถ้ำแก้ว เขาสามารถแทนฉันได้ "
"ปัจจุบันวัตถุมงคลทุกรุ่นของท่านหาค่อนข้างยาก เนื่องจากมีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด คงกระพันเป็นที่ประจักษ์ 

หลวงพ่อชม จนฺทโชติ นามเดิม ชม นุชนาถ เกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ตรงกับปีวอก บ้านวังปืน ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดา – มารดา นายนุช นางแจ่ม นุชนาถ ประวัติ หลวงพ่อชม จนฺทโชติ อุปสมบท การศึกษาเมื่อยังเด็ก บิดา มารดาได้นำไปฝากกับ เจ้าอธิการแหยม วัดสิงห์ เรียนหนังสือไทยและขอม จนพออ่านออกเขียนได้ อีกทั้งบิดายังได้ถ่ายทอดวิชาเกี่ยวกับยาและการรักษาให้ จนมีความชำนาญ สามารถตรวจรักษาคนไข้ได้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ประวัติความมีชื่อเสียง หลังจากอุปสมบทได้รักษาพยาบาลพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ ตลอดจนญาติโยมชาวบ้าน จนมีชี่อเสียงโด่งดังด้านการรักษาและหมอน้ำมนต์ อุปนิสัยของพ่อประการหนึ่ง คือ ชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยเฉพาะ ปรอท ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อชมอายุได้ ๒๗ ปี ท่านเจ้าอธิการแหยมถึงแก่มรณาภาพ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สืบต่อมา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพระภิกษุสามเณร และเป็นครูบาอาจารย์ที่ดุมาก ปี พ.ศ.๒๔๘๐ อายุ ๖๕ ปี ๔๔ พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ และเป็นหมอยาประจำตำบลหนองโสน วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อ วัตถุมงคลที่โดดเด่นของหลวงพ่อชม มี ๒ ชนิด คือ เชือกคาดเอว มีอานุภาพทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ และพระปิดตามหาอุตม์ ประกอบด้วย เนื้อเมฆพัตร เนื้อทองแดงเถื่อน และเนื้อตะกั่ว หลวงพ่อชม มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๖ รวมสิริอายุ ๗๑ ปี
ประวัติ หลวงพ่อผล วัดหนองแขม

สถานภาพปัจจุบัน

สมศักดิ์ พระครูวิวิตสมาจาร
นามเดิม ผล
ฉายา เตชธมโม
อายุ 76 ปี
พรรษา 56 พรรษา
วุฒิทางการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ตำบลท่ายาง
อำเภอท่ายาง จังหวัด เพชรบุรี นักธรรมเอก พระสังฆาธิการชั้นสูง
สถานภาพเดิม
ชื่อ ผล
นามสกุล จันทร์อินพรม
เกิด วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบ้วย ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
บิดา นายชื่น จันทร์อินพรม มีภรรยา 2 คน
มารดา นางต่อม ใจกล้า มีบุตร 1 คน
นางส่าน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
มารดา นางมา จันทร์อินพรม มีบุตร 12 คน คือ
1.นางทองคำ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
2.นายตุน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
3.นายพรม จันทร์อินพรม
4.นางสาย จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
5.นายสุข จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
6.นางหริ่ม จันทร์อินพรม
7.นางแหร่ม แซ่ซิ้ม ถึงแก่กรรม
8.นางหรุ่ม ภู่เจริญ ปัจจุบันบวชชี
9.นายจันทร์ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
10.นางสาวอินทร์ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
11.นางสาวผ่อน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
12.พระครูวิวิตสมาจาร (ผล จันทร์อินพรม)

อุปสมบท วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ณ วัดบรรพตาวาส (เขากระจิว) ตำบลท่ายาง
อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี และจำพรรษาวัดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 รวม 18 พรรษา
จำพรรษาที่วัดสหธรรมิการาม (หนองแขม) พ.ศ. 2516-2538 รวม 22 พรรษา
พระอุปัชฌาย์ พระสุทธิสารสุธี เจ้าอาวาสวัดมหาสมณาราม (เขาวัง) อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี
พระกรรมวาจารย์ พระครูสมุห์พร้อม วัดมหามสณาราม (เขาวัง)
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสมุห์ทอง เจ้าอาวาสวัดบรรตาวาส (เขากระจิว)

สมศักดิ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรี
เจ้าอาวาสวัดราษฎรในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นโท
เจ้าอาวาสวัดราษฎรในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นเจ้สาคณะตำบลชั้นโท
ในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

วิทยฐานะทางการศึกษา
พ.ศ.2490 สำเร็จการศึกษาวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบ้วย
ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2498 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. 2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ. 2502 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. 2519 จบการศึกษาโรงเรียน พระสังฆาธิการชั้นสูง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2522 เข้าอบความรู้ระดับเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2500ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนนักธรรมประจำโรงเรียนปริยัติธรรมศรัทธาสามัคคี
วัดบรรตาวาส (เขากระจิว)
พ.ศ. 2516 รักษาการเจ้าอาวาสวัดสหธรรมิการาม (หนองแขม)
พ.ศ. 2517 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดสหธรรมิการาม วันที่ 9 กรกฎาคม
พ.ศ. 2530 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะตำบลเมื่อวันที่ 14 เมษายน

พระครูวิวิตสมาจาร ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย สอบได้นักธรรมตรี โท เอก
ตามลำดับ แลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนนักธรรมประจำโรงเรียนปริยัติธรรมศรัทธาสามัคคี ของวับรรตาวาส และวัดสหธรรมิการาม
หลวงพ่อเป็นพระนักปฏิบัติมาโดยตลอด สมัยที่ท่านอยู่วัดบรรตาวาส
ท่านจะคอยช่วยเหลือหลวงพ่อทองอยู่เสมอ เช่น เรื่องการทุบหิน การสร้างโบสถ์
การสอนนักธรรม การอบรมดูแลพระลูกวัด การอบรมดูแลลูกศิษย์วัด การสวดท่องปาฎิโมกข์
การทำความสะอาดบริเวณวัด และการดูแลสาธารณสมบัติของวัด
หลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสวัดสหธรรมิการาม เมื่อปี พ.ศ. 2516
ท่านดำเนินการปรับปรุงวัดและเสนาสนะให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
สะอาดงดงาม ให้พระภิกษาสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีพระและสามเณรเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ตลอดจนเรื่องการพัฒนนาสร้างสรรค์ความเจริญในท้องถิ่น
โดยเฉพาะการช่วยเหลือพีฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ
เช่นโรงเรียน สถานีอนามัยหมู่บ้าน ถนน ประปา
นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อยังได้ดำเนินการพัฒนาและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อสังคมและชุมชน
อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาทิ ได้สร้างถนนด้านหลังวัดสำหรับติดต่อหมู่บ้าน
เพื่อให้ชุมชนสะดวกในการติดต่อไปมากับวัดและชุมชนอื่น
ก่อให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก

ในด้านสาธารณูปโภค ท่านได้ขุดลอกคูน้ำคลองสามสายถึงวัดและหมู่บ้าน
ขุดลอกสระเพื่อให้ประชาชนและพระใช้ในการอุปโภคบริโภค
จัดทำประปาสำหรับวัดและหมู่บ้านที่ใกล้เคียงวัด
นับเป็นความเอื้ออาทรที่หลวงพ่อได้เมตตาต่อชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง

ด้านการศึกษา หลวงพ่อได้ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างมาก
ท่านได้อุปการะดูแลให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ตั้งแต่ช่วยวางแผนการย้ายอาคารเรียน ก่อสร้างอาคารเรียนใหม่
การมอบวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนเป็นประจำ
เด็กนักเรียนคนใดขาดแคลนเรื่องอาหารกลางวัน
ท่านก็เมตตาให้ไปรับประทานอาหารที่วัดได้ทุกวัน ท่านได้เป็นประธานกรรมการศึกษา
ช่วยบริการดูแลโรงเรียนจนทำให้กิจกรรมของโรงเรียนบ้านหนองแขมดำเนินไปด้วยดี
จัดการประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

การบริการชุมชนด้านอนามัย ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่บ้าน
ท่านก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเช่นเดียวกัน ท่านได้มอบที่ดินของวัดจำนวน 1
ไร่เศษให้เป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ตำบลท่ายาง ได้บริการด้านสาธารณสุข
ให้กับประชาชนได้มาก

ด้านการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น
ท่านได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมการสานเข่ง ให้กับผู้สนใจประกอบอาชีพเป็นอาชีพรอง
เป็นการหารายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลัก

ปัจจุบันวัดสหธรรมิการาม (หนองแขม)
เป็นสถานที่เผยพระพุทธศาสนาที่นับวันจะเจริญรุ่งเรืองทั้งกิจกรรมสืบสานพุทธศาสนาและกิจกรรมเพื่อมวลชน
ให้พัฒนาทั้งกายและใจ ทั้งนี้โดยการอำนวยการของท่านเป็นที่ตั้ง
มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน 69 รูป สามเณร 14 รูป ธรรมศึกษาโท 4 รูป
นับว่าเป็นวัดที่กำลังพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
ทั้งนี้โดยบารมีของท่านหลวงพ่อผลโดยแท้

หลวงพ่อแก้ว ติสฺสโส วัดหัวนา ต.ไร่โคก อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

อีเมลพิมพ์PDF
ภาพและเรื่องโดย โพธิญาณ

ภาพถ่าย หลวงปู่แก้ว ติสฺสโส สมัยมีชีวิตหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ท่านเกิดในวันเสาร์ เดือน 11 ส่วนสถานที่เกิดไม่ทราบสถานที่เกิดแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าภายหลังท่านได้ไปอยู่กับบิดา-มารดาที่บ้านขลู่ ตำบลธงไชย อำเภอเมือง จ.เพชรบุรี โยมบิดาชื่อ นายทบ โยมมารดาชื่อ นางปุ่นนามสกุล นาคะเวช ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านไร่อ้อย บริเวณสะพานทางสงฆ์ ตำบลบ้านหมอ ในเขตเทศบาล ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ทั้งหมด 4 คนด้วยกัน ท่านเป็นคนที่ 3 เท่าที่ทราบตระกูลของ หลวงพ่อแก้ว เป็นคนค่อนข้างจะมีฐานะ ปู่-ย่าของท่านเป็นคนร่ำรวย มีที่นาไร่สวนมากมาย จึงได้ส่งโยมบิดาไปทำนาอยู่ที่บ้านขลู่ โยมบิดาของ หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นคนดุ มีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่ายหายเร็ว มีเรื่องเล่าว่า เวลาโยมบิดาของท่านให้บุตรธิดาทำงาน ถ้าทำงานไม่ถูกใจก็จะดุด่าและเฆี่ยนตีเป็นประจำ ทำให้ลูกๆ ทุกคนเกรงกลัวโยมบิดามาก
ชีวิตในวัยเด็กของท่านก็เหมือนเด็กทั่วๆ ไป ชอบซุกซน ต่อมาโยมบิดา-มารดาของท่านก็ได้นำ หลวงพ่อแก้ว ไปฝากวัดที่ วัดพระเชตุพน กับ ท่านพระครูสังวาลย์นรสีห์ ซึ่งสมัยนั้นท่านเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและเก่งกล้าทางด้านวิปัสสนาธุระมาก ซึ่งในพระราชพิธีหรือพิธีการต่างๆ ท่านมักจะได้รับการอาราธนาให้ไปร่วมในพิธีการต่างๆ นั้นเสมอ
หลวงพ่อแก้ว ได้รับการอบรมสั่งสอนและเรียนหนังสือ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอมกับ พระครูสังวาลย์นรสีห์ จนเก่งกล้าสามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว จนกระทั่ง หลวงพ่อแก้ว อายุได้ประมาณ 8 ปีเศษ โยมบิดาก็เดินทางจากบ้านเกิดมารับกลับไปให้ช่วยทำนา และด้วยเหตุที่ หลวงพ่อแก้ว ท่านได้มาอยู่ที่วัดพระเชตุพนเสียนานเป็นเวลาหลายปีด้วยกัน จึงทำให้ท่านไม่รู้วิธีการทำนา จึงทำให้ท่านถูกโยมบิดาดุด่าอยู่เสมอ ในที่สุดท่านทนแรงกดดันจากการดุด่าของโยมบิดาไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านไปโดยไม่มีใครทราบว่าท่านไปอยู่ที่ไหน
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ปี พ.ศ.2507 เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ปี พ.ศ.2507 เหรียญ หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ปี พ.ศ.2507 เหรียญ หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ปี พ.ศ.2507
ครั้นต่อมาโยมบิดาของท่านก็ได้อพยพย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเดิมมากนัก และได้เสียชีวิตลง ส่วนโยมมารดาของท่านก็ได้สามีใหม่
ต่อมาเมื่อ หลวงพ่อแก้ว ทราบข่าวว่าโยมบิดาเสียชีวิต จึงได้เดินทางกลับมายังบ้าน และได้สำนึกบาปที่ได้หนีออกจากบ้านไป โดยประพฤติปฏิบัติเป็นคนดี ช่วยเหลือครอบครัว และเชื่อฟังมารดาและพ่อเลี้ยงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา













หลวงพ่อโสก วัดปากคลอง เกิด ปี พ.ศ.๒๔๑๕ ที่บ้านแคววังใหญ่ ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี บิดา – มารดา นายพันธุ์ นางนาก พันธ์โพธิ์ทอง อุปสมบท ที่วัดปากคลองบางครก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ มีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุวณฺโณ”
ประวัติความมีชื่อเสียง หลังจากอุปสมบทแล้วได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระอธิการครุฑ วัดมหาธาตุ ต่อมาไปศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี(ฉุย) วัดคงคาราม มีความสามารถในด้านจิตรกรรม โหราศาสตร์ การเทศนาและเวชศาสตร์ ศึกษาพุทธาคมกับครูอาจารย์ต่างๆ มากมายหลากหลายวิชา อาทิ หลวงพ่อคล้าย วัดพระทรง และหลวงพ่อแหล่ม วัดบางคลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ เจ้าอาวาสวัดปากคลอง เจ้าคณะหมวดบางครก และดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอโศกธรรมสาร ตามลำดับ วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อ หลวงพ่อโสกอนุวัตรสร้างวัตถุมงคลตามความเลื่อมใสศรัทธาแห่งประชาชนมากมาย อาทิ พระเครื่องรุ่นเนื้อเกสร และเนื้อชินต่างๆ ตะกรุดจันทร์เพ็ญ ตะกรุดจันทร์ตรี ตะกรุดสามเพ็ญ ผ้ายันต์ราชสีห์ ผ้ายันต์บัวคว่ำบัวหงาย ปลาตะเพียน น้ำมันมนต์ น้ำเต้ากันไฟ แต่ที่ลือชื่อมากที่สุดคือ เหรียญพระจันทร์ครึ่งซีก ปี ๒๔๖ค เนื้อโลหะทองเหลืองและเนื้อชิน กึ่งกลางเหรียญทำเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เหนือพระจันทร์เป็นอุณาโลม ข้างล่างพระจันทร์เขียนคำว่า อุ และพระขรรค์เขาความเผือก ใช้สำหรับการปราบภูตผีปิศาจ และคุ้มกันอันตราย และปลัดขิกทำด้วยไม้คูณ(การะพริก) ตายพรายลงอาคามด้วยหัวใจโจร ปลุกเสกเฉพาะในวันเสาร์ มีอานุภาพทางเสน่ห์ และป้องกันสรรพอันตรายร้อยแปด และปัจจุบันยังเป็นวัตถุมงคลที่ยังได้รับความศรัทธาสูง
หลวงพ่อโศก ได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒ รวมสิริอายุ ๖๗ ปี พรรษา ๔๗


หลวงพ่อชวน วัดเขาปากช่อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อชวนท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ท่านได้เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อแดงมาจนหมดสิ้น และท่านยังได้ปรนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงจวนจนท่านมรณภาพ
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อชวน ออกในงานปิดทอง เมื่อ ปี 2539 และมีประสบการณ์กันมาแล้วกับคนในพื้นที่ และกับทหารสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นจึงเป็นที่ต้องการของคนในพื้นที่ ยิ่งเหรียญสภาพสวยๆ ยิ่งหายาก เพราะสร้างจำนวนน้อย และหลวงพ่อท่านแจกเฉพาะผู้ที่ไปร่วมทำบุญในวันงานเท่านั้น จึงมีหมุนเวียนในตลาดน้อย เก็บได้ต้องรีบเก็บครับ แต่ก็ต้องระวังเหรียญเก๊ฝีมือเฉียบ ผู้ที่ยังไม่สันทันต้องระวัง (ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนผม 5555 )
วันนี้จึงนำความรู้เล็กๆ น้อยๆ มีแชร์ เผื่อจะมีประโยชน์แก่ท่านที่มีความสนใจอยากได้เหรียญหลวงพ่อชวนไว้ใช้ครับ
เหรียญที่ 1 เป็นเหรียญแท้ บล็อกจุดไข่ปลา นิยม (ด้านหน้าเหรียญ บริเวณขอบเหรียญด้านซ้ายมือเราจะมีจุดไข่ปลา)
เหรียญที่ 2 เป็นเหรียญแท้เช่นเดียวกัน แต่เป็นบล็อกธรรมดา
เหรียญที่ 3 เป็นเหรียญเก๊ ฝีมือเฉียบ
แต่มีจุดตายอยู่ที่ด้านหลังเหรียญ บริเวณคำว่า “วัดเขาปากช่อง” โดยคำว่า วัด จะมีเนื้อเกินระหว่างไม้หันอากาศ กับตัว ว แหวน หรือที่คนพื้นที่เรียกว่า “หมอนรอง” ตรงจุดนี้คนปลอมยังทำไม่ได้ แต่ต่อไปก็ไม่แน่
ส่วนพื้นผิวเหรียญโดยส่วนใหญ่จะปรากฏลักษณะ "ขี้กลาก" โดยเฉพาะด้านหลังเหรียญ บริเวณคำว่า “๒๕๓๙” ไล่ขึ้นไปตามขอบเหรียญจะปรากฏขี้กลากมากที่สุด

ประวัติ[แก้]

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดหนองไม้เหลือง จ.เพชรบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2477 (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8) โดยมีหลวงพ่อใหม่ วัดเขาทโมน เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีหลวงพ่อชื่น หลวงพ่อยอด หลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง เป็นพระคู่สวด เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษา และร่ำเรียนวิชาต่างๆ อยู่กับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง
ด้วยความสนใจใฝ่รู้ในสรรพวิชาต่างๆ เมื่อร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อเพลินจนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงได้เดินทาง ไปร่ำเรียน วิชาคาถาอาคมจากพระคณาจารย์ชื่อดังต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น เรียนวิชาหนุมานกับหลวงพ่อพระครูสันต์ วัดเขาวัง จ.เพชรบุรี เรียนวิชาทำตะกรุดครั่งจากหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เรียนวิชาทำตะกรุดพวงกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จ.พระนครศรีอยุธยา เรียนวิชาทำมีดหมอกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ เรียนวิชาทำชูชกกับหลวงปู่รอด วัดวังน้ำวน จ.สมุทรสาคร เรียนวิชาทำปลัดขิกกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี เรียนวิชาลงนะหน้าทองกับหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม โดยเฉพาะกับหลวงพ่อแช่ม อดีตเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดตาก้อง จ.นครปฐมนั้น หลวงพ่อแลได้อยู่รับใช้อย่างใกล้ชิด และได้เรียนวิชาจากหลวงพ่อแช่ม มากมาย เช่น วิชาเสริมดวงชะตา และวิชาสักพญาหงส์เงิน-หงส์ทอง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน ถือว่าหลวงพ่อแลเป็นลูกศิษย์ ของหลวงพ่อแช่มองค์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

หลวงพ่อแล ทิตฺตพฺโพ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ขมังเวทย์ แห่งวัดพระทรง อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นศิษย์สายหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง และหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง อดีต 2 พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองเพชร เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน กับท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม (มรณภาพแล้ว) หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง (มรณภาพแล้ว) และหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง (มรณภาพแล้ว)
ชื่อเสียงของหลวงพ่อแลเริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมานานนับสิบปี เมื่อท่านได้ลงมือสักยันต์ต่างๆ ทั้งหนุมาน ลิงลม พญาหงส์ และลงนะหน้าทองให้แก่บรรดาลูกศิษย์ แล้วบังเกิดอภินิหาร ทั้งในทาง เมตตามหานิยม โดยเฉพาะทาง อยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่ร่ำลือไกล จนกระทั่ง เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ต้องมาขอร้องให้หลวงพ่อเลิกสักยันต์ เนื่องจากมีลูกศิษย์บางคนไปสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น แต่ด้วยความเมตตา ประกอบกับคำสั่งขององค์อาจารย์ ทำให้ หลวงพ่อแลไม่อาจเลิกสักยันต์ด้วยตัวเองได้ แต่ท่าน ก็เพียรพยายามเน้นย้ำสั่งสอนญาติโยมให้หมั่นทำความดี-มีศีลธรรม เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะได้ปกปักรักษาคุ้มครอง ตัวตลอดไปไม่เสื่อมคลาย

วิชาสักหนุมาน[แก้]

เบื้องต้นก็เรียนมาจากหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง ก็จำพรรษาอยู่กับท่าน 1 พรรษา ส่วนวิชาสักหนุมานนั้น อาตมาไปเรียนกับหลวงพ่อพระครูสันต์ วัดเขาวัง เพชรบุรีนี่เอง ตอนนั้น ก็มีคนไปขอเรียนกับท่านหลายคน ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตไปเกือบหมดแล้ว (หนึ่งในนั้นคือหลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม) สมัยนั้น ท่านก็ให้จับสลากว่า ใครจะได้เรียนอะไร อาตมาก็จับได้วิชาหนุมาน สมัยนั้น เสียค่าครูไม่แพงเพียง 6 บาทเท่านั้น ก็เรียนจนสำเร็จ

สรรพคุณของการสักหนุมาน[แก้]

ท่านกล่าวว่าหามูลค่าไม่ได้ เพราะถือเป็นวิชาที่สูงส่งเราตีค่าไม่ได้ แต่มันมีความหมายทุกตัว สักยันต์หนุมานตัวที่ 1 สุวรรณะ สักแล้ว อายุยืนไปไหน มีคนเมตตาช่วยเหลือ ตัวที่ 2 มนิโย สักแล้ว จะพูดจาเรียบร้อย ตรงไปตรงมา ตัวที่ 3 สังคะเมวะจะ สักแล้วจะมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คุ้มครอง ตัวที่ 4 สุริยะ สักแล้วเป็นลูกพระอาทิตย์ ตัวที่ 5 มุขคะเมวะจะ สักแล้ว อุเบกขา (จะวางตัวเป็นกลาง) ตัวที่ 6 อาธิกะมูรัง สักแล้วเป็นลูกเทวดา เทวดารักษาล้อมรอบตัวเรา ตัวที่ 7 มันตรา สักแล้วมีเพื่อนมากรักพวกพ้วง ตัวที่ 8 อุอุอะอะ สวามหามันตัง สักแล้ว ไม่กลัวใครใหญ่ที่สุด ตัวพิเศษ (ย่อจากตัวที่ 9) สวาหะ แม่หนุมานขี่ราชสิงห์เชิญธง บุญฤทธิ์มากมาย
ส่วนความหมายของตัวนะจะเป็นเมตตามหานิยม นะสาลิกาลิ้นทอง สักแล้ว จะเป็นมหาเสน่ห์ พูดจา จะมีคนหลงรัก นะหน้าทอง สักแล้วจะมีคนเมตตาสงสารให้ความช่วยเหลือ นะหัวใจเศรษฐี สักแล้วร่ำรวย มีเงินมีทองมากมาย และนะไฝเงิน-ไฝทอง สักแล้ว เมื่อไปพูดอะไรกับใครจะได้เงินได้ทองคล่อง ซึ่งจริงๆ หนุมานมีอิทธิฤทธิ์สูงมาก เหมือนเทพ และมีความว่องไวเป็นพิเศษ อภินิหารแกร่งกล้า ความคิดความอ่านถือว่าสมองเป็นเลิศ

เปิดประวัติหลวงพ่อเทพ สมเด็จ-เหรียญยอดนิยม

มุมพระเก่า
อภิญญา



ขึ้นชื่อว่าเมืองเพชร มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่ทั่วทุกอำเภอ ซึ่งแต่ละท่านล้วนมีพระเครื่องดังๆ ติดอันดับความนิยมอยู่ในวงการพระเครื่องและมีประสบการณ์ที่ลือลั่นทั้งสิ้น  อาทิ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก, หลวงพ่อชิต วัดมหาธาตุ, หลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง, หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว, หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา เป็นต้น

ถ้ำเขารงค์รูปช้าง ยางนาใหญ่ แม่น้ำเพชรใส หลวงพ่อเทพเลื่องลือไกล พระดำใหญ่คู่ตำบลŽ นี่คือคำขวัญประจำตำบลถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ที่ปรากฏชื่อของ หลวงพ่อเทพ สิริธโร (พระครูบรรพตวิบูลกิจ) อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำรงค์ และเจ้าคณะตำบลท่าเสน ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกับหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐŽ ท่านทั้งสองดังเคียงคู่กันมา ด้วยความที่หลวงพ่อเทพเป็นพระเก็บตัว ชอบความสงบ จึงไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่เรื่องวิชาอาคมและพระเครื่องนั้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันทีเดียว

วัดถ้ำรงค์ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด ถือว่าเป็นวัดที่อยู่ใจกลางตำบล เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนส่วนมาก จึงไม่แปลกที่วัดนี้จะถูกใช้เป็นสถานที่พบปะของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ย้ายไปอยู่ต่างถิ่นแล้วก็มักจะมีโอกาสได้กลับมาพบปะญาติพี่น้องที่วัดแห่งนี้ ทั้งยังเป็นศาสนสถานที่ดึงดูดใจผู้ที่ชอบเสาะหาประวัติความเป็นมาของวัด เพราะวัดถ้ำรงค์ไม่ได้มีประวัติที่ชัดเจน ไม่มีใครรู้ว่าวัดนี้ก่อสร้างแต่เมื่อใด แม้แต่เจ้าอาวาสองค์แรกมาพบวัดถ้ำรงค์ ซึ่งมีโบสถ์ วิหารพร้อมอยู่แล้ว ท่านเพียงแต่เข้าจำพรรษา

เมื่อมองดูผิวเผินก็ดูเหมือนวัดธรรมดาที่อยู่ในท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก อาจจะไม่มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่เป็นที่ดึงใจนักท่องเที่ยว แต่สิ่งที่ทำให้วัดนี้ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากผู้คนอย่างมากก็คือ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเทพ
ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติธรรม จนสามารถมีญาณวิเศษมองเห็น รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งในอดีตก็ได้ปัจจุบันก็ได้ อีกทั้งยังมีความสามารถในด้านการทำนายทายทัก ดูฤกษ์ดูยามในการประกอบพิธีการงานต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ

เช่น การออกรถใหม่ การแต่งงาน อุปสมบท จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมายอยู่ทั่วทุกสารทิศ ด้วยความที่ท่านเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เคร่งครัดในธรรม-วินัย จนสามารถมีอิทธิฤทธิ์ในเรื่องต่างๆ ได้แพร่กระจายจากปากต่อปากของลูกศิษย์ลูกหาที่เข้ามาขอความช่วยเหลือจากท่าน จากเพียงคนเดียวก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อเทพปลุกเสกมาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับลูกศิษย์ลูกหา เกิดปาฏิหาริย์ให้ลูกศิษย์ได้ประจักษ์ จึงทำให้มีผู้คนที่เดือดร้อนมาขอความช่วยเหลือจากท่านมากมาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วประเทศ

แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว ผู้คนก็ยังมีความศรัทธาอย่างมั่นคง หลายคนไปขอให้ท่านช่วยเหลือ เมื่อได้ตามที่ขอก็จะนิยมแก้บนกันด้วยหนังตะลุงŽ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลวงพ่อเทพชอบดูเป็นที่สุด โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์Ž


หลวงพ่อเทพ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ต.ค. 2449 ณ บ้านหมู่ที่ 4 ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 9 คนของนายพวง นางเภา ปานดำ เยาว์วัยได้เรียนหนังสือกับพระอธิการวัน วัดถ้ำรงค์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ มาก จนอ่านออกเขียนได้ตามสมัย จากนั้นก็ออกมาประกอบอาชีพทำนาทำไร่ ช่วยเหลือครอบครัวของท่านด้วยความเอาใจใส่อย่างดี ไม่เคยเกียจคร้านแม้แต่น้อย

เรื่องการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตท่านไม่เคยคิดทำ เพราะเกรงกลัวต่อบาป อีกทั้งเรื่องเที่ยวเตร่ก็ไม่เคยไปร่วมวงกับใคร แต่กลับสนใจในวิชายาแผนโบราณ และทางด้านวิชาอาคมขลัง โดยเดินทางไปเรียนจากพระอาจารย์หลายท่านทั้งที่เป็นพระสงฆ์ และฆราวาส อาทิ หลวงพ่อบุญ วัดท่าศาลา และอาจารย์ของหลวงพ่อบุญ

ปีพ.ศ.2469 ได้เข้าอุปสมบทที่วัดถ้ำรงค์ มีหลวงพ่อชิต วัดมหาธาตุ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เขียว วัดท่าศาลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการวัน วัดถ้ำรงค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่าสิริธโร
Ž
หลังจากนั้นได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ตลอดมา เฝ้าปฏิบัติวัตรพระอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ และเรียนอาคมขลังเพิ่มเติมจนก้าวหน้ามาก

แม้แต่พระอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน เมื่อต้องการติดต่อเรื่องราวอันใด ก็จะใช้สมาธิติดต่อกัน บางเรื่องท่านจะไม่ใช้ผู้อื่นเดินทางไปแทน ทำเอาผู้เดินทางถึงกับงงมาก เมื่อพระที่ท่านใช้ให้ไปหา สั่งข้อความและฝากของมาให้ เหมือนกับพูดกันทางโทรศัพท์

หลังสอบนักธรรมโทได้แล้ว ก็แบกกลดเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระธุดงค์เข้าป่าหา ความสงบบำเพ็ญเพียรภาวนา เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน จนถึงประเทศลาวทางฝั่งพม่าก็เข้าไปถึงเมือง หงสาวดี ย่างกุ้ง

เรื่องการอดอาหารเป็นวันๆ ท่านเคยอดมาแล้ว โดยไม่มีความหวั่นไหวอะไรเลยแม้แต่น้อย ท่านใช้เวลาเดินธุดงค์อยู่หลายปี จนมีเสียงร่ำลือกันว่าท่านตายไปแล้ว พ่อแม่ของท่านจึงไปสอบถามจากหลวงพ่อบุญ วัดท่าศาลาราม ได้รับคำตอบว่าเร็วๆ นี้ท่านก็จะกลับมา  จากนั้นไม่นานท่านก็เดินทางกลับมาที่วัด และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.2481 ด้วยความเอาใจใส่ในการก่อสร้าง ท่านก็สร้างสรรค์วัดจนสำเร็จลุล่วง ปรากฏผลงานการก่อสร้างมากมายเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของญาติโยม

เรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านมากก็คือ การดูฤกษ์พานาที การพยากรณ์เกี่ยวกับที่ดินจะปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ร้านค้าต่างๆ ซึ่งใครให้ท่านดูแล้ว กิจการจะก้าวหน้า

หลวงพ่อเทพเป็นอีกหนึ่งเกจิที่เข้มขลังทางพุทธาคมอย่างยิ่ง ในอ.บ้านลาด ถึงขนาดที่หลวงพ่อผิน วัดโพธิ์กรุ ยังให้ความเคารพท่าน นอกจากนั้นยังเป็นพระเกจิหนึ่งใน 2 รูปของจังหวัดเพชรบุรี ที่ได้รับนิมนต์มาปลุกเสก เหรียญหลักเมือง กรุงเทพฯ ปีพ.ศ. 2518